COOLNOMIX
ลดต้นทุนพลังงานเครื่องปรับอากาศได้ถึง 40% โดยเฉลี่ย
เป็นไปได้อย่างไร?
COOLNOMIX ได้รับการจดสิทธิบัตรนานาชาติว่ามีความสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายสารทำความเย็นหรือ โอ อาร์ เอส (ORS – Optimized Refrigerant Supply) ซึ่งประกอบไปด้วยกระบวนการสำคัญสองอย่างได้แก่
- จ่ายความเย็นได้เหมาะสมกับอุณหภูมิห้อง
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระยะทำงานของคอมเพรสเซอร์เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน
เนื่องจากคอมเพรสเซอร์นั้นกินพลังงานถึง 95% เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานทั้งหมดของเครื่องปรับอากาศหนึ่งเครื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายสารทำความเย็นจึงส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงานได้ถึง 40% โดยเฉลี่ยจากผู้ใช้ทั่วโลก
การใช้งาน COOLNOMIX
COOLNOMIX สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างไม่น่าเชื่อเพราะสามารถดัดแปลงให้เข้ากับเครื่องปรับอากาศที่มีอยู่แล้วไม่ว่าจะขนาดหรือประเภทใดก็ได้หากตัวเครื่องปรับอากาศใช้สารทำความเย็นเพื่อสร้างความเย็นโดยตรง การดัดแปลงใช้เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงก็เสร็จสิ้นและไม่ต้องการการบำรุงรักษาใด ๆ อีกด้วย
COOLNOMIX ได้ช่วยประหยัดพลังงานให้กับลูกค้าทั่วโลกโดยใช้กับอุปกรณ์ดังนี้:
- เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (เช่น ชนิดติดผนังหรือแบบติดเพดาน (คาสเซตต์))
- เครื่องปรับอากาศแบบแพคเกจหรือดับเบิ้ลเอ็กซ์แพนชั่น (ดีเอ็กซ์) โดยสามารถปรับใช้กับขนาดที่ใหญ่ที่สุดได้
- เครื่องปรับอากาศแบบท่อที่มีระบบท่อส่งจ่ายลมเย็นหรือเอเอชยู (AHU – Air Handling Unit)
- เครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ (วีอาร์วี และ วีอาร์เอฟ)
กระทั่งเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ (วีอาร์วี และ วีอาร์เอฟ) ก็ยังสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 40%!
COOLNOMIX ทำงานอย่างไร
สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องเกินจริงอะไร COOLNOMIX แค่ช่วยประหยัดพลังงานโดยดึงการผลิตส่วนเกินของระบบระบายความร้อนมาใช้นั่นเอง
- ระบบระบายความร้อนที่ได้รับการออกแบบอย่างดีจะมีประสิทธิภาพการจ่ายสารทำความเย็นที่เกินกว่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุด
- เพื่อที่จะรักษาการผลิตส่วนเกินนั้นไว้ ระบบระบายความร้อนจึงต้องการการบริการระดับมืออาชีพอย่างสม่ำเสมอ
- การผลิตส่วนเกินนี้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศภายนอกและภาระความร้อน (ฮีตโหลด) ที่มีการเปลี่ยนแปลง นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงบอกว่าเราช่วยประหยัดพลังงานจากเครื่องปรับอากาศได้ 40% โดยเฉลี่ย และช่วยประหยัดพลังงานจากตู้เย็นได้ 30% โดยเฉลี่ย
การทำงานขั้นพื้นฐานของระบบระบายความร้อนที่COOLNOMIX เข้าไปมีบทบาทคือการช่วยให้คอมเพรสเซอร์เปลี่ยนสารก่อความเย็นเป็นของเหลวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งของเหลวนี้จะถูกดันผ่านเครื่องระเหยเพื่อที่ความดันอากาศจะได้ถูกนำไปใช้เพื่อผลิตเป็นความเย็น การปล่อยให้คอมเพรสเซอร์ทำงานเมื่อสารก่อความความเย็นเปลี่ยนเป็นของเหลวหมดแล้วเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานของคอมเพรสเซอร์ซึ่งเทียบได้ราว 95% ของการใช้พลังงานของระบบระบายความร้อนทั้งหมด
โดยปกติแล้ว ระบบระบายความร้อนจะทำงานเสมือนว่าไม่รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นขณะที่แก๊สทำความเย็นเกิดการบีบอัดและไม่รับรู้ว่าการทำงานที่จำเป็นของคอมเพรสเซอร์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว นี่เป็นผลมาจากการมีเซนเซอร์อุณหภูมิแค่ตัวเดียวหรือที่เรียกว่าสเปซเทอร์โมสตัตซึ่งส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ทำงานต่อไปทั้ง ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นจนกระทั่งอุณหภูมิห้องไปถึงจุดที่ต้องการ
COOLNOMIX จะเข้ามาแทนที่การทำงานของสเปซเทอร์โมสตัตที่มีอยู่ด้วยการใช้เซนเซอร์อุณหภูมิสองตัวซึ่งประกอบไปด้วยเซนเซอร์ของอุณหภูมิภายในห้องและเซนเซอร์ของแหล่งจ่ายสารทำความเย็น
- เซนเซอร์อุณหภูมิห้องมีไว้เพื่อยืนยันว่าเราสามารถผลิตความเย็นให้ห้องได้ตามที่ต้องการ
- เซนเซอร์ของแหล่งจ่ายสารทำความเย็นมีไว้เป็นตัวแทนเพื่อกำหนดว่าเมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานที่จำเป็นเสร็จแล้วหรือก็คือเมื่ออุณหภูมิขั้นต่ำที่เกิดจากการจ่ายสารทำความเย็นนั้นบรรลุแล้ว COOLNOMIX ก็จะช่วยให้คอมเพรสเซอร์ไม่ต้องทำงานต่อและส่ง “สัญญาณเทอโมสตัต” ไปยังระบบระบายความร้อนซึ่งเทียบได้กับตัวเทอร์โมสตัตเดิมเพื่อหยุดการทำงานของคอมเพรสเซอร์
- จนกว่าสารทำความเย็นที่ถูกบีบอัดไว้จะลดความดันลงจนหมด ประสิทธิภาพของระบบระบายความร้อนจะยังถูกกักเก็บไว้และจะยังคงช่วยสร้างความเย็นให้กับห้อง (ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่ควรจะเปิดเครื่องปรับอากาศในโหมดอัตโนมัติเพราะการปล่อยให้พัดลมเป่าความเย็นให้ห้องนั้นเป็นเรื่องสำคัญ) หลังจากอุณหภูมิจากแหล่งจ่ายสารทำความเย็นใกล้ถึงอุณหภูมิห้อง COOLNOMIX จะกำหนดว่าต้องการสารทำความเย็นเพิ่มขึ้นและส่ง “สัญญาณเทอร์โมสแตท” เพื่อเริ่มการทำงานของคอมเพรสเซอร์ใหม่อีกครั้ง
แม้ว่าเครื่องปรับอากาศของคุณจะขับเคลื่อนด้วยระบบอินเวอร์เตอร์ เราก็ยังช่วยคุณประหยัดพลังงานได้ถึง 40% อยู่ดี เฉกเช่นเดียวกับการเริ่มต้นและหยุดทำงานที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ ระบบอินเวอร์เตอร์จะทำงานตอบสนองต่อ “สัญญาณเทอร์โมสตัต” ของ COOLNOMIX ด้วยการเร่งการทำงานและทำงานช้าลงนั่นเอง
COOLNOMIX และอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์
การหยุดและปล่อยให้คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานอีกครั้งบ่อย ๆ เป็นการร่นอายุการใช้งานหรือไม่?
คำถาม/ข้อโต้แย้งนี้มักถูกหยิบยกขึ้นมาบ่อย ๆ โดยเราสามารถตอบคำถามนี้ได้ในหลายแง่มุม ดังนี้:
- มีสองสิ่งที่สามารถทำลายคอมเพรสเซอร์ได้ในขณะที่หยุดหรือเริ่มต้นกระบวนการทำงานซึ่งก็คือ
- การหยุดการทำงานของคอมเพรสเซอร์เร็วเกินไปหลังจากเพิ่งเริ่มทำงานจะส่งผลให้ขดลวดมอเตอร์ยังเก็บความร้อนไว้ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้ขดลวดเสื่อมสภาพ เครื่องระบายความร้อนสมัยใหม่ได้มีการพัฒนาโดยมีระยะการทำงานอย่างน้อยสามนาทีเพื่อลดความเสี่ยงนี้ลง
- การให้คอมเพรสเซอร์เริ่มต้นทำงานใหม่ในขณะที่ยังมีแรงดันต่างประเภทซึ่งคือแรงดูดและผลักค้างอยู่ในคอมเพรสเซอร์จะทำให้คอมเพรสเซอร์เริ่มต้นทำงานอีกครั้งในขณะที่แบกรับภาระซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้
- การเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายสารความเย็นหรือ โอ อาร์ เอส (ORS – Optimized Refrigerant Supply) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรนานาชาติที่เป็นส่วนหนึ่งของ COOLNOMIX จะช่วยป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ได้ดังนี้
- โออาร์เอสจะช่วยให้การทำงานของคอมเพรสเซอร์ใช้เวลาขั้นต่ำ 4 นาที
- ตามหลักการทำงานของโออาร์เอส การเริ่มต้นการทำงานอีกครั้งของคอมเพรสเซอร์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อแรงดูดและแรงผลักอยู่ในภาวะสมดุล ไม่ว่าจะกรณีใด ระยะเวลาก่อนคอมเพรสเซอร์จะเริ่มทำงานอีกครั้งจะใช้เวลาอย่างต่ำ 3 นาที
- เมื่อกระบวนการทำงานของโออาร์เอสซึ่งได้ถูกอ้างไว้ในรายการที่สองเกิดขึ้น จำนวนครั้งสูงสุดของการเริ่มและหยุดทำงานจะอยู่ที่ราว 6 ครั้ง พึงเข้าใจว่าระยะเวลาหยุดพักของคอมเพรสเซอร์คือสิ่งที่ช่วยประหยัดพลังงาน ไม่ใช่จำนวนความถี่ของการหยุดหรือเริ่มการทำงาน
โปรดทำความเข้าใจว่าอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงการทำงาน COOLNOMIX ช่วยประหยัดพลังงานโดยลดจำนวนชั่วโมงการทำงานของคอมเพรสเซอร์ลง หาก COOLNOMIX จะส่งผลอะไรต่อคอมเพรสเซอร์แล้วล่ะก็ไม่มีอะไรนอกจากช่วยเพิ่มอายุการใช้งานนั่นเอง!
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายสารทำความเย็น (โออาร์เอส)
ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศใช้ประโยชน์จากการวัดอุณหภูมิห้องเพื่อกำหนดระยะเวลาทำงานของคอมเพรสเซอร์ กระทั่งอินเวอร์เตอร์สมัยใหม่ที่ใช้วิธีการนี้ก็ยังสิ้นเปลืองพลังงานไปกับการปล่อยให้คอมเพรสเซอร์ทำงานเกินควร ระบบโออาร์เอสของ COOLNOMIX ใช้ข้อมูลจากเซนเซอร์อุณหภูมิสองตัวเพื่อกำหนดว่าตอนไหนคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศถึงควรทำงาน
- เซนเซอร์ตัวแรกเป็นตัวแทนการวัดอุณหภูมิห้อง ระบบโออาร์เอสของ COOLNOMIX ใช้เซนเซอร์ตัวนี้เพื่อสร้างอุณหภูมิห้องตามที่ต้องการให้ได้เป็นอันดับแรก
- เซนเซอร์ตัวที่สองใช้วัดอุณหภูมิของไอความเย็นจากเครื่องปรับอากาศโดยใช้เพื่อวัดว่าคอมเพรสเซอร์ทำงานไฮดรอลิกซึ่งก็คือการบีบอัดแก๊สความเย็นสมบูรณ์หรือยัง
แน่นอนว่าหลังจากแก๊สความเย็นถูกบีบอัดสมบูรณ์แล้ว การปล่อยให้คอมเพรสเซอร์ทำงานต่อนั้นเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน อย่างไรก็ดี นี่ยังคงเป็นสิ่งที่ยังทำกันในการวัดอุณหภูมิห้อง
เมื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก เซนเซอร์ตัวที่สอง ระบบโออาร์เอสของ COOLNOMIX จะสามารถหยุดการทำงาน (ในกรณีที่ไม่ใช่เครื่องอินเวอร์เตอร์) หรือชะลอการทำงาน (ในกรณีที่เป็นเครื่องอินเวอร์เตอร์) ของคอมเพรสเซอร์ในขณะที่เครื่องปรับอากาศใช้แหล่งจ่ายลมอัดเพื่อระบายความร้อนในการทำให้ห้องเย็น หลังจากระบบโออาร์เอสของCOOLNOMIX ระบุได้แล้วว่ายังต้องการประสิทธิภาพในการระบายความร้อนอีกเท่าไหร่ คอมเพรสเซอร์ก็จะเริ่มทำงาน (ในกรณีที่เป็นไม่ใช่เครื่องอินเวอร์เตอร์) หรือเร่งการทำงาน (ในกรณีที่เป็นเครื่องอินเวอร์เตอร์) ใหม่อีกครั้งจนกระทั่งกระบวนการไฮดรอลิคเสร็จสิ้นอีกรอบหนึ่ง
COOLNOMIX VS SMARTCOOL
คุณสมบัติ | COOLNOMIX | SMARTCOOL |
ระบบระบายความร้อนที่สามารถใช้งานได้ | เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นชนิดและขนาดใดก็ได้ | เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นและอุปกรณ์ทำความร้อน (ฮีทปั๊ม เอชวีเอซี-อาร์) |
การควบคุมอุณหภูมิความเย็นในห้อง | เมื่อใช้ COOLNOMIX คุณสามารถปรับอุณหภูมิความเย็นภายในห้องได้ตั้งแต่ 0 ถึง 31 องศาเซลเซียส | คุณไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในห้องได้เมื่อใช้ SMARTCOOL |
ความเสถียรของอุณหภูมิ | ระบบเซนเซอร์คู่ของ COOLNOMIX จะช่วยปรับปรุงความเสถียรของอุณหภูมิห้องเทียบได้กับเทอร์โมสตัตที่มีอยู่ | SMARTCOOL ทำงานโดยปรับระยะระบายความร้อนแต่ละรอบอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลดังนี้
· ขยายการแกว่งของอุณหภูมิห้องที่ให้ความเย็น/ฮิสเทอรีซิส · เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิห้องที่ให้ความเย็นได้ช้าเมื่อภาระความร้อน (ฮีตโหลด) เกิดการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน |
การประหยัดพลังงาน | ประหยัดพลังงานในเครื่องปรับอากาศได้ 40% โดยเฉลี่ย
ประหยัดพลังงานในตู้เย็นได้ 30% โดยเฉลี่ย |
ประหยัดพลังงานได้ 15% โดยเฉลี่ย |
การรับประกัน | 3 ปี | 1.5 ปี |
ระยะคุ้มทุน | หนึ่งปีหรือน้อยกว่า | สามปีหรือน้อยกว่า |
COOLNOMIX VS AIRCOSAVER
คุณสมบัติ | COOLNOMIX | สมาร์ทคูล |
ระบบระบายความร้อนที่สามารถใช้งานได้ | เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นชนิดและขนาดใดก็ได้ | เครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ที่สุดใช้ได้คือประมาณ 10 ถึง 15 กิโลวัตต์
ไม่สามารถใช้งานกับเครื่องปรับอากาศชนิดวีอาร์วี/วีอาร์เอฟ/อินเวอร์เตอร์ได้ |
การควบคุมอุณหภูมิความเย็นในห้อง | COOLNOMIX สามารถปรับอุณหภูมิความเย็นภายในห้องได้ตั้งแต่ 0 ถึง 31 องศาเซลเซียส | AIRCOSAVER ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิความเย็นภายในห้องตามต้องการได้ |
ความเสถียรของอุณหภูมิ | ระบบเซนเซอร์คู่ของ COOLNOMIX จะช่วยปรับปรุงความเสถียรของอุณหภูมิห้องเทียบได้กับเทอร์โมสตัตที่มีอยู่ | การที่ AIRCOSAVER มีเซนเซอร์อุณหภูมิตัวเดียว เมื่อเครื่องปรับอากาศถูกใช้งานเกินมาตรฐานเฉลี่ย อุณหภูมิห้องอาจขยับสูงขึ้นได้ |
การประหยัดพลังงาน | ประหยัดพลังงานในเครื่องปรับอากาศได้ 40% โดยเฉลี่ย
ประหยัดพลังงานในตู้เย็นได้ 30% โดยเฉลี่ย |
ประหยัดพลังงานได้ 20% โดยเฉลี่ยเฉพาะกับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กถึงกลางเท่านั้น |
การรับประกัน | 3 ปี | 2 ปี |
ระยะคุ้มทุน | หนึ่งปีหรือน้อยกว่า | สองปีหรือน้อยกว่า |
สิทธิบัตร | โออาร์เอสซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่COOLNOMIX ใช้ได้รับการจดสิทธิบัตรนานาชาติ | ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเทคโนโลยีหรือกระบวนการนี้เคยได้รับการจดสิทธิบัตร |
หากต้องการทราบข้อมูลการขายหรือข้อมูลเฉพาะทางเพิ่มเติม กรุณาส่งอีเมล์มาที่ contact@emerald-sky.com หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.emerald-sky.com